top of page
ค้นหา

ขั้นตอนการนำเข้าแรงงานต่างด้าวภายใต้สถานการณ์โควิด ฉบับอ่านรู้เรื่อง!

อัปเดตเมื่อ 21 มี.ค. 2565

ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การนำเข้าแรงงานต่างด้าวต้องหยุดลงอย่างกระทันหัน สำหรับนายจ้างในประเทศไทยเองก็ต้องประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างมาก และสำหรับแรงงานต่างด้าวทั้งเมียนมาร์และกัมพูชาเองก็ประสบปัญหาการขาดรายได้เป็นจำนวนมาก ทำให้มีการเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายเพิ่มมากขึ้น

ซึ่งการเข้ามาของแรงงานต่างด้าวอย่างผิดกฎหมายนั้น ส่งผลกระทบให้มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มาจากแรงงานต่างด้าวและมาแพร่กระจายเชื้อในประเทศไทยเป็นคลัสเตอร์ต่างๆอย่างที่เราเห็นกันในข่าวมากมาย

เหตุผลสำคัญเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การเข้ามาอย่างผิดกฎหมายของแรงงานต่าวด้าว ส่งผลต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นวงกว้าง เพราะแรงงานที่เข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ไม่สามารถควบคุมการตรวจคัดกรองและการกักตัวก่อนจะเริ่มเข้ามาทำงานกับนายจ้างได้

อีกทั้งแรงงานหลายคนยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อีกด้วย




ในปัจจุบัน กรมการจัดหางานกระทรวงแรงงานของประเทศไทยได้อนุญาตให้แรงงานต่างด้าว MOU สามารถเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้แล้ว แต่อาจจะมีขั้นตอนเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการนำเข้าแรงงานก็ปรับเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย

เนื่องจากต้องมีต้นทุนในการกักตัวและประกันโควิด-19 ของแรงงานต่างด้าว เพื่อความปลอดภัยของนายจ้างในประเทศไทยและเพื่อความมั่นใจของคนไทยทั้งประเทศ

ขั้นตอนจะเป็นอย่างไรบ้าง วันนี้ เราได้สรุปสั้นๆให้ทุกคนเข้าใจได้ง่ายๆแล้วค่ะ


ขั้นตอนการนำเข้าแรงงานต่างด้าวในระบบ MOU ภายใต้สถานการณ์โควิด-19


1. จัดทำเอกสารความต้องการแรงงานส่งที่กรมจัดหางานแล้วรออนุมัติ 7-10 วัน


2. นำเอกสารที่ได้รับอนุมัติจากกรมการจัดหางาน ส่งให้ตัวแทนจัดหาคนงานประเทศต้นทาง

แล้วรอรับรายชื่อคนงาน (Name list) ที่จะเข้ามาสมัครทำงานในบริษัทของคุณ

(ใช้เวลาประมาณ 30 วัน หรือจนกว่าจะหาแรงงานได้ครบตามจำนวนที่ขอไป)


3. ตรวจสอบรายชื่อและเอกสารของคนงานเพื่อทำเอกสารขอรับใบอนุญาตทำงาน

แทนคนงานต่างด้าว ยื่นที่กรมการจัดหางาน


4. กรมการจัดหางานจะให้เอกสารแจ้งขอทำวีซ่าและเอกสารแจ้งตม.เพื่อผ่านเข้าชายแดน

นำส่งเอกสารแจ้งขอทำวีซ่านำส่งไปที่สถานทูต (หากเป็นประเทศเมียนมาร์ ให้ยื่นที่

สถานทูตเมียนมาร์ในประเทศไทย แต่หากเป็นกัมพูชาหรือลาว ให้ส่งไปที่สถานทูตไทย

ประจำประเทศกัมพูชา/ลาว) และนำเอกสารแจ้งตม.เพื่อผ่านเข้าชายแดนให้กับ

ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่แรงงานจะเดินทางเข้ามา


5. โทรจองสถานที่กักตัวของแรงงาน ล่วงหน้าอย่างน้อย 14 วัน หรือตามกำหนดเวลาแจ้งของ สถานที่กักตัวที่เราเลือกไว้


6.นัดวันรับคนงานเข้าประเทศไทยกับตัวแทนจัดหาคนงานของประเทศต้นทาง


7. คนงานที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะต้องได้รับการตรวจสุขภาพ 6 โรคตามที่กฎหมาย กำหนดและต้องทำการฉีดวัคซีนมาแล้ว 2 เข็ม หากได้รับวัคซีนโควิค-19 มาแล้วเพียงเข็มเดียว จะต้องกักตัวในประเทศไทย 14 วัน


8. รับคนงานจากด่านตรวจคนเข้าเมืองไปสถานที่กักตัว


9. คนงานเข้ารับการกักตัว 7 วัน (ในกรณีที่รับวัคซีนมาแล้ว 2 เข็ม) โดยจะมีแพทย์ พยาบาลคอย ดูแลอย่างใกล้ชิด และทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 จำนวนสองครั้งให้แก่แรงงานต่างด้าวทุกคน


10. รับคนงานจากสถานที่กักตัวมาที่พักของนายจ้าง


11. นำเอกสารของแรงงานต่างด้าวเข้าไปแจ้งที่พักคนงาน ที่สถานีตำรวจในพื้นที่ของนายจ้าง


12. นำเอกสารของแรงงานต่างด้าว ไปยื่นแจ้งเข้าทำงาน ณ กรมจัดหางานในเขตพื้นที่ที่ แรงงานเข้าทำงาน


13. นำเอกสารของแรงงานต่างด้าว เข้ารายงานตัวที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองทุกๆ 90 วัน


สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว้ปไซน์ของกรมจัดหางาน


เป็นอย่างไรกับบ้างกับวิธีการนำเข้าแรงงานต่างด้างภายใตสถานการณ์โควิด-19 มีขั้นตอนและเอกสารค่อนข้างเยอะมากเลยใช่ไหมคะ จริงๆแล้วนี่เป็นเพียงขั้นตอนคร่าวๆที่ยังไ่ม่ได้ลงลึกถึงเอกสารต่างๆที่ต้องใช้ ซึ่งค่อนข้างเยอะมากๆและไม่สามารถผิดพลาดได้เลย ดังนั้นหากต้องการนำเข้าแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก เราแนะนำว่าให้ปรึกษาบริษัทที่ได้รับอนุญาตจัดหาแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย (นจ.) เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือหากไม่รู้จักบริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าวที่เชื่อถือได้ สามารถโทรปรึกษาบริษัท นำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ เคไอ เปอรูมาล คอร์ปเปอเรชั่น จำกัด ได้ที่เบอร์ 098-256-7313




ดู 54 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page