top of page
ค้นหา

แรงงาน MOU ต่างจาก บัตรชมพูอย่างไร?

ก่อนที่เราจะมาพูดถึงความแตกต่างระหว่างแรงงาน MOU และ แรงงานที่ถือบัตรชมพู

เรามาทำความรู้จักกันก่อนดีกว่าว่า MOU คืออะไร และบัตรชมพูคืออะไร มาดูกันค่ะ


MOU ย่อมาจากคำว่า Memorandum Of Agreement

หากเราแปลตรงตัว ก็จะหมายถึง บันทึกข้อตกลงที่ได้ตกลงไว้กันไว้ทั้งสองฝ่าย หรือพูดง่ายๆก็คือ บันทึกข้อมูลต่างๆที่คนสองฝ่ายได้คุยกัน ตกลงกัน หรือสัญญากัน

ซึ่ง MOU ที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้จะหมายถึงข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลประเทศต้นทาง (เมียนมาร์ กัมพูชา ลาว)


แรงงานที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยผ่านระบบ MOU นั้น จะถือว่าเป็นแรงงานที่เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แรงงานจะได้รับ ค่าแรง, OT, ประกันสังคม และวันหยุดพักผ่อนประจำปีเช่นเดียวกับแรงงานไทยที่ทำงานภายในประเทศไทย


แรงงานบัตรชมพู

แรงงานบัตรชมพูคือแรงงานที่เข้ามาในประเทศไทยอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อาจเข้ามาในประเทศไทยผ่านช่องทางธรรมชาติ หรือช่องทางอื่นๆ โดยแรงงานเหล่านี้ แอบเข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยค่าแรงและสวัสดิการต่างๆจะขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างนายจ้างกับแรงงาน จริงๆแล้ว แรงงานเหล่านี้หากตำรวจตรวจพบ จะต้องถูกส่งกลับประเทศของตน แต่เนื่องจากมีแรงงานที่เข้ามาโดยไม่ถูกต้องเป็นจำนวนมาก ทางกระทรวงแรงงานจึงผ่อนผันให้แรงงานเหล่านี้อยู่และทำงานในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวโดยต้องมาลงทะเบียนทำบัตรชมพูตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนดแต่แรงงานยังคงมีสถานะภาพเข้าเมืองผิดกฎหมายอยู่เพราะบัตรชมพูไม่ใช่หนังสือเดินทางหรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทางตามกฎหมายคนเข้าเมือง

เมื่อแรงงานที่เคยอยู่อย่างผิดกฎหมายเข้ารับการทำบัตรชมพู แรงงานจะได้รับการรับรองสิทธิหลายด้านด้วยกัน เช่น ถูกบังคับให้ซื้อประกันสุขภาพ

ส่วนประกันสังคมนั้นขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนได้เฉพาะคนที่มีหนังสือเดินทางเท่านั้น


จะเห็นว่า แรงงาน MOU และ แรงงานบัตรชมพู ถือว่าเป็นแรงงานที่ทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายทั้งคู่ แต่ความแตกต่างระหว่างแรงงานสองประเภทนี้ก็ยังคงมีอยู่บ้าง ดังนี้


ความแตกต่างระหว่างแรงงาน MOU กับแรงงานบัตรชมพู


แรงงาน MOU

- สามารถเดินทางไปทำงานนอกจังหวัดพื้นที่ได้แต่ต้องเป็นนายจ้างเดิม เช่นการเดินทางไปทำงานตามไซน์งานก่อสร้างต่างๆ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เป็นต้น

- แรงงาน MOU นอกจากจะต้องเข้ารายงานตัวทุก 90 วันแล้ว ยังต้องทำการต่ออายุใบอนุญาตทำงานทุกๆ 2 ปี และเมื่ออยู่ครบ 4 ปีแล้ว แรงงานจะต้องเดินทางกลับประเทศของตน เพื่อทำ Passport,Visa และตรวจโรค ใหม่ จึงจะกลับมาทำงานกับนายจ้างได้

- แรงงานที่เข้าประเทศไทยผ่านทางระบบ MOU จะเข้ามาผ่านสัญญาจ้างของนายจ้างใดนายจ้างหนึ่ง ฉะนั้นแรงงานจะต้องทำงานอยู่ภายใต้นายจ้างนั้นตลอดสัญญาจ้าง ไม่สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ตลอดสัญญาจ้างนอกเสียจากว่านายจ้างทำผิดข้อกำหนดที่กระทรวงแรงงานกำหนด

- ก่อนที่แรงงานต่างด้าวจะเข้ามาทำงานในประเทศไทยผ่านระบบ MOU ได้ แรงงานจะต้องทำเอกสารต่างๆอย่างถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นนายจ้างและแรงงานไม่ต้องเป็นกังวลเรื่องการเข้าตรวจของเจ้าหน้าที่

- แรงงานที่เข้าประเทศไทยผ่านระบบ MOU จะถูกคัดกรอง/คัดเลือกมาในระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งนายจ้างสามารถตรวจสอบที่อยู่ของแรงงาน หรือแม้แต่บุคคลในครอบครัวของแรงงานได้

อีกทั้งแรงงานที่ผ่านการคัดเลือกในระบบ MOU ยังจะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงแรงงานกำหนด


แรงงานบัตรชมพู

- แรงงานบัตรชมพูสามารถเปลี่ยนย้ายนายจ้างได้อยู่ตลอดเวลาแต่ไม่สามารถโยกย้ายจังหวัดหรืออำเภอที่ทำงานได้ ดังนั้นนายจ้างไม่สามารถให้แรงงานบัตรชมพู เดินทางไปทำงานตามไซน์งานนอกจังหวัดหรืออำเภอที่แรงงานลงทะเบียนเอาไว้ได้

- แรงงานต้องทำเรื่องต่อบัตรชมพูทุกๆปี

- แรงงานบัตรชมพูบางคน เล่ม CI (พิสูจน์สัญชาติ)อาจจะหมดอายุหรือ บัตรชมพูหมดอายุแล้วไม่ได้ไปต่ออายุตามกำหนด เสี่ยงต่อการโดยตรวจสอบ

- ไม่สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปที่แน่นอนของแรงงานได้ เพราะแรงงานบางคน อยู่ในประเทศไทยมานาน ไม่มีทะเบียนบ้าน หรือแม้แต่ ไม่ได้ติดต่อครอบครัวมานาน


เป็นอย่างไรกับบ้างกับความแตกต่างระหว่างแรงงานที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยผ่านระบบ MOU กับแรงงานบัตรชมพู หากคุณชอบบทความดีๆเกี่ยวกับแรงงานอีก สามารถเข้าไปติดตามอ่านได้ที่ https://www.kilabor.com/blog

ต้องการแรงงานต่างด้าวระบบ MOU ติดต่อเราได้ที่เบอร์ 091-812-7199 หรือ098-256-7313





ดู 232 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page